มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สมัครและส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด “โครงการเย็บร้อย ค่อยจีบ ประดิษฐ์ใบตอง ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๑” ชิงเงินรางวัล พร้อมเกียรติบัตร

ประเภทการประกวด

  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “มาลัยชายเดียว” (ระดับประถมศึกษา)
  • ประกวดวิจิตรตระการงานแกะสลัก “สลักเสลาสำรับน้ำพริก ผัก เครื่องจิ้ม” (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “บายศรีสามชั้น” (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “พานรับน้ำพระพุทธมนต์” (ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “กระเช้ามาลีวิจิตร” (ระดับอุดมศึกษา)
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “ชุดขันหมากเอก” (ระดับอุดมศึกษา) (ส่งผลงานเข้าประกวด)
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “โต๊ะหมู่บูชา ๙” (ประชาชนทั่วไป) (ส่งผลงานเข้าประกวด)

ขั้นตอนการสมัคร

  • ส่งใบสมัคร พร้อมแบบกรอกแนวคิดผลงานการประกวด, สำเนาบัตรประจำตัวนักเรียน/นักศึกษาของผู้เข้าประกวดทุกคน (กรณีที่ไม่มีบัตรประจำตัวนักเรียน/นักศึกษา ให้ใช้หนังสือรับรองการเป็นนักเรียน/นักศึกษาจากสถานศึกษาแทน)
  • ส่งใบสมัครภายในวันพุธที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ได้ ๒ ช่องทาง
    • ทางจดหมายถึง
      คุณทิวาภรณ์ ค้าแก้ว
      กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
      ๒๘๕ ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต
      กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐
    • ทาง E-mail : [email protected]

ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “มาลัยชายเดียว” (ระดับประถมศึกษา)

  • ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗ นิ้ว
  • การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
    • ประดิษฐ์มาลัยชายเดียว จำนวน ๑ พวง
    • ให้จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ ที่ใช้ในการประกวดด้วยตนเอง อนุญาตให้เตรียมดอกไม้ ใบไม้ทุกชนิดมาก่อน โดยการตัดแต่งกลีบ ฉีก เด็ดกลีบ คัดแยกขนาด พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ และวัสดุต่างๆ ให้คณะกรรมการตรวจก่อนเวลา ๑๕ นาที
    • ห้ามใช้วัสดุสังเคราะห์ที่ไม่ใช่ของสด
    • ไม่อนุญาตให้นาชิ้นงาน หรือส่วนประกอบสาเร็จของผลงานเข้ามาในการประกวด มิฉะนั้นจะตัดสิทธิ์ในการเข้าแข่งขัน
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวดและจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
    นักเรียนระดับประถมศึกษา ทีมละ ๕ คน และอยู่สถาบันเดียวกัน
  • วัน เวลาและสถานที่
    เข้าร่วมประกวด วันศุกร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. (ใช้เวลาประดิษฐ์ ๔ ชั่วโมง) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประกวดวิจิตรตระการงานแกะสลัก “สลักเสลาสำรับน้ำพริก ผัก เครื่องจิ้ม” (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)

  • ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕ – ๑๘ นิ้ว
  • การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
    • วัสดุที่ใช้ในงานแกะสลักผักผู้เข้าแข่งขันจัดเตรียมเอง
    • ไม่อนุญาตให้เกลา คว้าน ร่าง และขึ้นรูปลวดลายมาก่อนการแข่งขัน
    • ใช้มีดแกะสลัก หรืออุปกรณ์ในงานแกะสลักอื่นๆ ได้
    • จัดตกแต่งในภาชนะใบตองที่ประดิษฐ์ในเวลาการแข่งขัน
    • ไม่อนุญาตให้นาชิ้นงาน หรือส่วนประกอบสาเร็จของผลงานเข้ามาในการประกวด มิฉะนั้นจะตัดสิทธิ์
    • ในการเข้าแข่งขันสามารถเตรียมน้ าพริก เครื่องเคียงมาได้
      หมายเหตุ ก่อนส่งผลงานให้จัดตกแต่งส ารับอย่างสวยงามพร้อมน้ำพริก และเครื่องเคียง
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวดและจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
    นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทีมละ ๕ คน และอยู่สถาบันเดียวกัน
  • วัน เวลาและสถานที่
    เข้าร่วมประกวด วันศุกร์ที่ ๙ ธันวาคม 2566 เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. (ใช้เวลาประดิษฐ์ ๔ ชั่วโมง) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “บายศรีสามชั้น” (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)

  • ขนาด ขนาดฐานบายศรีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า ๙ นิ้ว
  • การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
    • ประดิษฐ์บายศรี ๓ ชั้น จำนวน ๑ สำรับ
    • จัดตกแต่งในภาชนะสวยงาม หรือฐานแท่นที่สร้างเฉพาะ
    • ใช้โฟม หรือวัสดุธรรมชาติเป็นหุ่นโครงได้
    • ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สด
    • ให้จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ ที่ใช้ในการประกวดด้วยตนเอง อนุญาตให้เตรียมดอกไม้ ใบไม้ทุกชนิดมาก่อน โดยการตัดแต่งกลีบ ฉีก เด็ดกลีบ คัดแยกขนาด พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ และวัสดุต่างๆ ให้คณะกรรมการ
    • ตรวจก่อนเวลา ๑๕ นาที
    • ไม่อนุญาตให้นาชิ้นงาน หรือส่วนประกอบสาเร็จของผลงานเข้ามาในการประกวด มิฉะนั้นจะตัดสิทธิ์ในการเข้าแข่งขัน
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด และจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
    นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทีมละ ๕ คน และอยู่สถาบันเดียวกัน
  • วัน เวลาและสถานที่
    เข้าร่วมประกวด วันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. (ใช้เวลาประดิษฐ์ ๔ ชั่วโมง) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “พานรับน้ำพระพุทธมนต์” (ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)

  • ขนาด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า ๙ นิ้ว
  • การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
    • ประดิษฐ์พานรับน้ำพระพุทธมนต์ จำานวน ๑ พาน
    • ใช้ภาชนะเป็นพานก้นลึก หรือภาชนะอื่นที่สามารถรองรับน้ าพระพุทธมนต์ เช่น ขันน้ำพานรองกะไหล่ทอง ตะลุ่มมุก
    • ใช้วัสดุที่ดูดซับน้ำได้ดี เช่น ขี้เลื้อย โฟมดูดน้ำ
    • ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สด
    • ให้จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ ที่ใช้ในการประกวดด้วยตนเอง อนุญาตให้เตรียมดอกไม้ ใบไม้ทุกชนิดมาก่อน โดยการตัดแต่งกลีบ ฉีก เด็ดกลีบ คัดแยกขนาด พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ และวัสดุต่างๆ ให้คณะกรรมการตรวจก่อนเวลา ๑๕ นาที
    • สามารถตัด ฉีกใบตอง ตัดแบบกลีบใบตอง และดามลวดมาก่อนล่วงหน้าได้
    • ไม่อนุญาตให้นาชิ้นงาน หรือส่วนประกอบสาเร็จของผลงานเข้ามาในการประกวด มิฉะนั้นจะตัดสิทธิ์ในการเข้าแข่งขัน
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด และจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
    นักเรียน นักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ทีมละ ๕ คน และอยู่สถาบันเดียวกัน
  • วัน เวลาและสถานที่
    ร่วมประกวด วันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม 2566 เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. (ใช้เวลาประดิษฐ์ ๔ ชั่วโมง) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “กระเช้ามาลีวิจิตร” (ระดับอุดมศึกษา)

  • ขนาด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๙ – ๑๕ นิ้ว
  • การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
    • ประดิษฐ์กระเช้ามาลีวิจิตร จำนวน ๑ กระเช้า
    • ลำตัวกระเช้าประดิษฐ์จากใบตอง
    • ฐานกระเช้าสามารถใช้โฟม หรือวัสดุธรรมชาติเป็นหุ่นโครงได้
    • ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สดแบบประณีตศิลป์
    • ให้จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ ที่ใช้ในการประกวดด้วยตนเอง อนุญาตให้เตรียมดอกไม้ ใบไม้ทุกชนิด มาก่อน โดยการตัดแต่งกลีบ ฉีก เด็ดกลีบ คัดแยกขนาด พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ และวัสดุต่างๆ ให้คณะกรรมการตรวจก่อนเวลา ๑๕ นาที
    • ไม่อนุญาตให้นาชิ้นงาน หรือส่วนประกอบสาเร็จของผลงานเข้ามาในการประกวด มิฉะนั้นจะตัดสิทธิ์ในการเข้าแข่งขัน
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด และจ านวนผู้เข้าร่วมประกวด
    นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ทีมละ ๕ คน และอยู่สถาบันเดียวกัน
  • วัน เวลาและสถานที่
    ร่วมประกวด วันศุกร์ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. (ใช้เวลาประดิษฐ์ ๔ ชั่วโมง) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “ชุดขันหมากเอก” (ระดับอุดมศึกษา) (ส่งผลงานเข้าประกวด)

  • เครื่องขันหมาก
    • ขนาดพานขันหมากเอก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า ๙ นิ้ว
    • ขนาดพานไหว้ (กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ) เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า ๙ นิ้ว
    • ขนาดพานแหวนหมั้น เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า ๗ นิ้ว
  • วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประดิษฐ์
    • จัดอยู่ในภาชนะสวยงาม เช่น พาน โตก หรือภาชนะที่ประดิษฐ์ขึ้น
    • ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สด
    • ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้-ใบไม้มงคล มีใบแก้ว ใบมะยม ใบเงิน ใบทอง ใบนาค ดอกไม้มงคล เช่น ดอกรัก ดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง ดอกพุด ดอกเฟื่องฟ้า ดอกกล้วยไม้ ฯลฯ
    • เครื่องมงคล ๔ ชนิด คือ ข้าวตอก ถั่วทอง งาดำ ข้าวเปลือก และรวมถึงถุงเงินงอก
    • หมาก พลู จะต้องเป็น หมากเจียน พลูจีบ
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด และจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
    นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด และอยู่สถาบันเดียวกัน
  • การส่งผลงาน
    ส่งผลงานสาเร็จเข้าประกวด วันเสาร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “โต๊ะหมู่บูชา ๙” (ประชาชนทั่วไป) (ส่งผลงานเข้าประกวด)

  • ขนาด โต๊ะหมู่บูชา (หมู่ ๙)
  • การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
    • โต๊ะหมู่ต้องเป็นโต๊ะหมู่ชุดเดียวกัน
    • ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ใบไม้สด แบบประณีตศิลป์
    • จัดตกแต่งพานพุ่ม แบบประณีตศิลป์
    • แจกัน เชิงเทียน กระถางธูป ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การจัดโต๊ะหมู่ ช
    • หุ่นพานพุ่มใช้โฟม หรือวัสดุธรรมชาติ
    • ผู้เข้าประกวดจัดเตรียมโต๊ะหมู่มาเอง
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด และจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
    ประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
  • การส่งผลงาน
    ส่งผลงานสาเร็จเข้าประกวด วันเสาร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ณ มหาวิทยาลัย สวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

เกณฑ์การตัดสิน

  • รูปร่าง – รูปทรง ๑๐ คะแนน
  • ขนาด – สัดส่วน ๒๐ คะแนน
  • ความประณีต – ความสวยงาม ๓๕ คะแนน
  • การเลือกใช้สี ๑๐ คะแนน
  • ความคิดสร้างสรรค์ ๑๐ คะแนน
  • ความเหมาะสมในการน าไปใช้งานได้จริง ๑๕ คะแนน

รางวัลการประกวด

  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “มาลัยชายเดียว” (ระดับประถมศึกษา)
    • รางวัลชนะเลิศ ๖,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๕,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๔,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท ๙,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๒,๕๐๐ บาท
  • ประกวดวิจิตรตระการงานแกะสลัก “สลักเสลาสำรับน้ำพริก ผัก เครื่องจิ้ม” (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)
    • รางวัลชนะเลิศ ๗,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๖,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๕,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๔,๐๐๐ บาท ๑๒,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๒,๕๐๐ บาท
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “บายศรีสามชั้น” (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)
    • รางวัลชนะเลิศ ๘,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๗,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๖,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท ๑๕,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “พานรับน้ำพระพุทธมนต์” (ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)
    • รางวัลชนะเลิศ ๙,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๘,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๗,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๖,๐๐๐ บาท ๑๘,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๔,๐๐๐ บาท
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “กระเช้ามาลีวิจิตร” (ระดับอุดมศึกษา)
    • รางวัลชนะเลิศ ๑๐,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๙,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๘,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๗,๐๐๐ บาท ๒๑,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “ชุดขันหมากเอก” (ระดับอุดมศึกษา) (ส่งผลงานเข้าประกวด)
    • รางวัลชนะเลิศ ๑๒,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๑๐,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๙,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๗,๐๐๐ บาท ๒๑,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย “โต๊ะหมู่บูชา ๙” (ประชาชนทั่วไป) (ส่งผลงานเข้าประกวด)
    • รางวัลชนะเลิศ ๑๘,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๑๕,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๑๓,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๘,๐๐๐ บาท ๒๔,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๖,๐๐๐ บาท

หมายเหตุ

  • ผู้เข้าร่วมประกวดทุกคนจะได้รับเกียรติบัตร
  • ชิ้นงานที่เข้าร่วมประกวดทุกชิ้นที่ได้รับรางวัล คณะผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์จัดแสดงไว้ตลอดการจัดงาน
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
  • ชุดขันหมากเอก สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ งานใบตอง ของ ศาสตราจารย์มณีรัตน์ จันทนะผะลิน

ติดต่อสอบถาม

  • ผศ.ดร.พรยุพรรณ พรสุขสวัสดิ์ โทรศัพท์ ๐๙-๘๙๒๙-๔๙๕๖
  • คุณทิวาภรณ์ ค าแก้ว โทรศัพท์ ๐-๒๒๔๔-๕๑๙๐
  • เย็บร้อย ค่อยจีบ 66
2023-09-25

Written by:

X